เมนู

อุบาลีคาคา


[260] อุ. เมื่อกิจของสงฆ์ การ
ปรึกษาวินัย การตีความวินัย และการวินิจฉัย
ความแต่งวินัยเกิดขึ้นแล้ว ภิกษุในธรรมวินัย
นี้ เป็นคนชนิดไร จึงมีอุปการะมาก เป็น
คนชนิดไร จึงควรยกย่อง ในพระธรรม-
วินัยนี้.
พ. เบื้องต้น ภิกษุไม่ถูกตำหนิโดย
ศีล หมั่นตรวจมรรยาท และสำรวม
อันทรีย์เรียบร้อย ศัตรูเตียนไม่ได้โดยธรรม
เพราะเธอไม่มีความผิดที่ฝ่ายศัตรูจะพึงล่าว
ถึงเธอ ผู้เช่นนั้น ตั้งอยู่ในศีลวิสุทธิ์ เป็นผู้
แกล้วกล้า พูดจาฉาดฉาน เข้าที่ประชุมไม่
สะดุ้ง ไม่ประหม่า กล่าวล้อคำมีเหตุ ไม่
ไห้เสียความ ถึงถูกถามปัญหาในที่ประชุม
ก็เช่นนั้นเหมือนกัน ย่อมไม่นิ่งอั้น ไม่เก้อ
เธอเป็นผู้เชี่ยวชาญ กล่าวถ้อยคำถูกกาล
เหมาะแก่การพยากรณ์ ย่อมยังหมู่วิญญูชน
ให้พอใจ มีความเคารพในภิกษุทั้งหลาย ที่
แก่พรรษากว่า เป็นผู้แกล้วกล้าในอาจริย-
วาทของตน สามารถเพื่อจะวิจารณ์ ชำนาญ
ในถ้อยคำที่จะพึงกล่าว ฉลาดจับข้อพิรุธของ
ฝ่ายศัตรู เป็นเหตุให้ฝ่ายศัตรูถึงความถูก

ปราบ และมหาชนก็ยินยอม อนึ่ง ภิกษุนี้
ย่อมไม่ลบล้างลัทธิเป็นที่เชื่อถือ คืออาจริย-
วาทของตน แก้ปัญหาได้ไม่คิดขัด สามารถ
ในหน้าที่ทูต และยอมรับทำกิจของสงฆ์ ดุจ
รับบิณฑบาตของที่เขานำมาบูชาฉะนั้น ถูก
คณะภิกษุส่งไปให้ทำหน้าที่เจรจา ก็ไม่ทะนง
ตัวว่า ตนทำได้ เพราะการทำหน้าที่เจรจา
นั้น ภิกษุต้องอาบัติเพราะวัตถุมีประมาณ
เท่าใด และการออกจากอาบัติย่อมมีด้วยวิธี
ใด วิภังค์ทั้งสองนั้นมาแล้วด้วยแก่ภิกษุนั้น
ภิกษุนั้นเป็นผู้ฉลาดในวิธีการออกจากอาบัติ
อนึ่งภิกษุทำกรรมมีก่อความบาดหมางเป็น
ต้นเหล่าใด ย่อมถึงการขับออก และถูกขับ
ออก ด้วยเรื่องเช่นใด เธอฉลาดในวิภังค์
ย่อมเข้าใจ วิธีการรับเข้าหมู่ แม่นั้น ที่ควร
ทำแก่ภิกษุประพฤติวัตรนั้นเสร็จแล้ว มี
ความเคารพในพระผู้เจริญกว่า คือที่เป็นผู้-
ใหญ่ ปานกลาง และผู้ใหม่ เป็นบัณฑิต
ประพฤติประโยชน์แก่มหาชนในโลกนี้ ภิกษุ
ผู้เช่นนั้นนั่น จึงควรยกย่องในธรรมวินัยนี้แล.


โกสัมพิขันธกะที่ 10 จบ

หัวข้อประจำขันธกะ


[261] เรื่องสมเด็จพระชินวรประทับในพระนครโกสัมพีภิกษุวิวาท
กันเพราะไม่เห็นอาบัติ และยกกันเพราะเหตุเล็กน้อย. เรื่องทรงแนะนำให้
ภิกษุแสดงอาบัติ. เรื่องภิกษุผู้สนับสนุนฝ่ายถูกยกทำอุโบสถภายในสีมานั้นเอง.
เรื่องบ้านพาลกโลณการกคาม. เรื่องเสด็จพระพุทธดำเนินสู่ปาจีนวังสทายวัน.
เรื่องเสด็จพระพุทธดำเนินสู่ป่าปาริไลยกะ. เรื่องเสด็จพระพุทธดำเนินสู่
พระนครสาวัตถี. เรื่องพระสารีบุตร พระมหาโมคคัลลานะ พระโกลิตะ
พระมหากัสสปะ พระมหากัจจานะ พระมหาโกฏฐิตะ พระมหากัปปินะ
พระมหาจุนทะ พระอนุรุทธะ พระเรวตะ พระอุบาลี พระอานนท์ พระราหุล
พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี อนาถบิณฑิกคหบดี และนางวิสาขามิคารมาตา
เข้าเฝ้าทูลถามข้อปฏิบัติ. เรื่องเสนาสนะว่าง. เรื่องจัดเสนาสนะให้ว่า.
เรื่องแบ่งอามิสให้เท่า ๆ กัน. เรื่องทำสังฆสามัคคี. ภิกษุรูปไรจะให้
ฉันทะไม่ได้. เรื่องพระอุบาลีเข้าเฝ้าทูลถามสังฆสามัคคีในศาสนาของพระ
ชินเจ้า. เรื่องไม่ถูกตำหนิโดยศีล.
มหาวรรคภาคที่ 2 จบ

อรรถกถาโกสัมพิขันธกะ


วินิจฉัยในโถสัมพิขันธกะ


วินิจฉัยในโกสัมพิขันธกะ พึงทราบดังนี้:-
ในคำว่า ตํ ภิกฺขุํ อาปตฺติยา อทสฺสเน อุกฺขิปึสุ นี้ มีอันปุพพิกถา
ดังต่อไปนี้:-